วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

ศิลปะแม่ไม้มวยไทย

....หมายถึงท่าของการผสมผสาน การใช้ หมัด เท้า เข่า ศอก เพื่อการรุก หรือรับ ในการต่อสู้ด้วย มวยไทย การจะใช้ศิลปะไม้มวยไทย ได้อย่าง ชำนาญ จะต้อง ผ่านการฝึก เบื้องต้น ในการใช้หมัด เท้า เข่าศอกแต่ละอย่าง ให้คล่องแคล่ว ก่อนจากนั้น จึงจะหัด ใช้ผสมผสาน กันไปทั้งหมัด เท้า เข่า ศอกและศิลปะ การหลบหลีก ซึ่งขึ้นอยู่ กับครู มวยไทย ที่จะคิดดัดแปลง พลิกแพลง เพื่อนำไปใช้ได้ผล แล้วตั้งชื่อ ท่ามวย นั้นๆ ตามลักษณะท่าทางให้จดจำได้ง่าย เมื่อมีท่ามวยมากขึ้น จึงจัดแบ่ง เป็นหมวดหมู่ หรือตั้งชื่อให้เรียกขาน คล้องจองกัน เพื่อลูกศิษย์ จะได้ท่องจำ และไม่ลืมง่าย ในอดีตมวยไทยไม่ได้ ใส่นวม จะชกกัน แต่ชกด้วยมือเปล่า หรือใช้ผ้าดิบ พันมือ จึงสามารถใช้มือ จับคู่ต่อสู้ เพื่อทุ่ม หัก หรือบิดได้ นักมวยจึงใช้ชั้นเชิง ในการต่อสู้ มวยไทย มากกว่าการใช้พละกำลัง จึงเกิด ท่า มวยมากมาย ต่อมามีการกำหนด ให้นักมวยไทย ใส่นวมในขณะขึ้นชก แข่งขัน เช่นเดียว กับมวยสากล และ มีการออกกฎกติกาต่าง ๆ เพื่อเป็น การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น แก่ นัก มวยไทย และง่ายต่อการตัดสิน ท่ามวยไทย ที่มีมาแต่อดีต "บางท่าจึงไม่สามารถ นำมาใช้ ในการแข่งขันได้ ถือว่าผิดกติกา" และบางท่านัก มวยไทย ก็ไม่ สามารถ ใช้ได้ถนัด เนื่องจาก มีเครื่อง ป้องกัน ร่างกายมาก ท่ามวย บางท่า จึงถูกลืมเลือนไปในที่สุด


                                                       สลับฟันปลา



รับวงนอก
แม่ไม้นี้เป็นไม้หลักหรือไม้ครูเบื้องต้น ใช้รับและหลบหมัด ตรงของคู่ต่อสู้ที่ ชกนำ โดยหลบออกวงนอก นอกลำแขนของ คู่ต่อสู้ทำให้หมัดเลยหน้าไป
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง ที่หมายใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้า ซ้ายสืบไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาหลบไป ทางกึ่งขวา ๑ ก้าว พร้อมทั้งโน้มตัวเอนไป ทางขวาประมาณ ๖. องศา น้ำหนักตัวอยู่ บนเท้าขวา ขาขวางอเล็กน้อยศีรษะและตัว หลบออกวงนอกของหมัดฝ่ายรุก ใช้มือขวา จับคว่ำมือที่แขนท่อนบนของฝ่ายรุก มือซ้าย จับกำหงายที่ข้อมือของฝ่ายรุก (ท่าคล้ายจับ หักแขน)

                                                      ปักษาแหวกรัง



รับวงใน
แม่ไม้นี้เป็นไม้ครูของการเข้าสู่ วงในเพื่อใช้ลูกไม้ อื่นต่อไป
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่ หน้าฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าสืบไป ข้างหน้าเฉียงไปทางกึ่งซ้ายเลกน้อยภายใน แขนซ้าย ของฝ่ายรุก ตัวเอนประมาณ ๖๐ องศา น้ำหนัก ตัวอยู่บนเท้าซ้ายพร้อมกับ งอแขนทั้ง ๒ ขึ้นปะทะแขนท่อนบนและ ท่อนล่างของฝ่ายรุกไว้โดยเร็ว. หมัดของ ฝ่ายรับทั้งคู่ชิดกัน(คล้ายท่าพนมมือ)ศอก กางประมาณ ๑ คืบ ศีรษะและใบหน้ากำบังอยู่ระหว่างแขนทั้งสอง ตาคอยชำเลืองดูหมัด ขวาของฝ่ายรุก

                                                       ชวาซัดหอก


ศอกวงนอก
แม่ไม้นี้ใช้เป็นหลัก สำหรับ หลบหมัดตรงออกทางวงนอก แล้วโต้ตอบ ด้วยศอก
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง บริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้า ซ้าย สืบไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าเอนตัวไป ทางกึ่งขา ตัวเอน ประมาณ ๓. องศา น้ำหนัก ตัวอยู่บนเท้าขวา พร้อมงอแขน ซ้ายใช้ศอก กระแทกชายโครงใต้แขนของฝ่ายรุก

                                                   อิเหนาแทงกริช



ศอกวงใน
แม่ไม้นี้เป็นหลักในการรับหมัด และใช้ศอกเข้าคลุกวงใน
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงบริเวณหน้า ฝ่ายรับ พร้อมกับสืบเท้าไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าว เท้าซ้ายไปข้างหน้าตัวเอียงไปทางซ้ายเล็กน้อย ตัวเอน ประมาณ ๖๐ องศา น้ำหนัก ตัวอยู่บนเท้าซ้าย งอศอกขวาขนานกับพื้น ตีระดับชายโครงฝ่ายรุก


                                                   ยอดเขาพระสุเมรุ




ชกคางหมัดต่ำก้มตัว ๔๕ องศา
แม่ไม้นี้ ใช้รับหมัดตรงในลักษณะก้มตัว เขาวงในให้หมัด ผ่านศรีษะไปแล้วชกเสยคาง
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดชายตรง ที่หมายใบหน้าฝ่ายรับ พร้อมก้าวเท้าซ้ายไป ข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาพร้อมกับย่อตัวต่ำ เข้าหาฝ่ายรุก งอเข่าขวาขาซ้าย ตึงย่อตัวต่ำเอน ไปข้างหน้าประมาณ ๔๕ องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวาแล้วให้ยืด เท้าขวายกตัวขึ้น พร้อมกับพุ่งชกหมัดขวา เสยใต้คางของฝ่ายรุก หน้าเงยดูคางของ ฝ่ายรุก แขนซ้ายกำบังอยู่ตรงหน้าเสมอคาง

                                                        ตาเถรค้ำฝัก




ชกคางหมัดสูงก้มตัว ๖๐ องศา
แม่ไม้นี้เป็นหลักเบื้อง ด้านใน การป้องกันหมัด โดยใช้แขนปัด หมัดที่ชกมาขึ้นข้างบน
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง ที่บริเวณใบหน้าฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปขางหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบไป ข้างหน้าทางกึงขวาเขาวงในของฝ่ายรุก แล้วใช้แขนขวาง ป้องกันหมัด ซ้ายที่ชกมาปัดขึ้นให้ พันตัว งอเข่าซ้ายเล็กน้อย ใช้หมัด ซ้ายชกใต้คางของฝ่ายรุก


                                                        มอญยันหลัก



รับหมัดด้วยถีบ
แม่ไม้นี้เป็นหลักสำคัญในการรับหมัด ด้วยการใช้เท้า ถีบยอดอก หรือท้อง
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมกับก้าวเท้าซ้าย ไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ โยกตัวเอนไปทางขวาเอนตัวหนีฝ่ายรุก ประมาณ ๔๕ องศา ยืนบนเท้าขวาแขนทั้งสอง ยกงอป้องตรงหน้าพร้อมกับยกเท้าซ้ายถีบที่ ยอดอกหรือท้องของฝ่ายรุกให้กระเด็น ห่างออกไป
 

                                                        ปักลูกทอย



รับเตะด้วยศอก
แม่ไม้นี้ใช้เป็นหลักในการรับการเตะกราด โดยใช้ศอกกระแทกที่หน้าแข้ง
ฝ่ายรุก ยืนตรงหน้าพอได้ระยะเตะ ยกเท้าขวา เตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ จากขวาไปทางซ้าย โน้มตัวเล็กน้อย งอแขน ทั้งสองป้องกันหน้า
ฝ่ายรับ รีบยกตัวไปทางซ้ายพร้อมกับก้าวเท้าซ้าย ฉากไปข้างหลังใช้แขนขวางอศอกขึ้น รับเท้าของฝ่ายรุกที่เตะมา แขนซ้ายงอป้องกัน อยู่ตรงหน้าสูงกว่าแขนขวาเพื่อป้องกัน พลาดถูกหน้า


                                                     จระเข้ฟาดหาง




รับหมัดเตะ
แม่ไม้นี้ใช้ส้นเท้าฟาดไปทางด้านหลัง เมื่อคู่ต่อสู้พลาดแล้วถลันเสียหลัก จึง หมุนตัวเตะด้วยลูกเหวี่ยงส้นเท้า
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวากระโดดไปทางกึ่งขวา ให้พ้นหมัดฝ่ายรุก แขนงอกำบังตรงหน้าแล้วใช้เท้าซ้าย เป็นหลักหมุนตัว เตะด้วยส้นเท้าขวาบริเวณท้องหรือคอ

                                                
                                                      หักงวงไอยรา



ศอกโคนขา
แม่ไม้นี้ใช้แก้การเตะโดยตัด กำลังขา ด้วยการใช้ศอกกระทุ้งที่โคนขา
ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ งอแขน ทั้งสองบังอยู่ ตรงหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาเข้าหา ฝ่ายรุกตรงหน้าเกือบประชิดตัวหันข้างตัวไป ทางซ้ายเข่าขวางอ เท้าซ้าย เหยียดตรง พร้อมกับใช้มือซ้ายจับเท้าขวา ของฝ่ายรุก ให้สูง ศอกขวากระแทกที่ โคนขาฝ่ายรุก ยกเท้าขวาฝ่ายรุกให้สูงขึ้น เพื่อให้เสียหลัก ยิงกันฝ่ายรุกใช้ศอกกระแทกศีรษะ

                                                       นาคาบิดหาง




บิดขาจับตีเข่าที่น่อง
แม่ไม้นี้ ใช้รับการเตะโดยใช้มือ ทั้งสองจับปลายเท้าบิดพร้อมทั้งใช้เข่ากระแทกขา
ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไป ยังบริเวณ ชายโครงของฝ่ารับ แขนทั้งสอง
ฝ่ายรับ รีบโยกตัวไปทางซ้าย ยืนบนเท้าซ้าย มือซ้ายจับส้นเท้าของฝ่ายรุก มือขวาจับที่ปลายเท้าบิดออกนอกตัว พร้อม กับยกเข่าขวาตีที่นองของฝ่ายรุก

                                                      วิรุฬหกกลับ



รับเตะด้วยถีบ
แม่ไม้นี้ ใช้รับการเตะโดยใช้ส้นเท้า กระแทกที่บริเวณโคนขา
ฝ่ายรุก ยกเท้าซ้ายเตะกลาง ลำตัวบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ
ฝ่ายรับ รีบยกเท้าซ้ายถีบไปที่ บริเวณโคนขาซ้ายของฝ่ายรุกพร้อมยกแขน ทั้งสองกันด้านหน้า การถีบนั้นต้องถีบให้เร็ว และแรงถึงขนาด ฝ่ายรุกหมุนกลับเสียหลัก

                                                        ดับชวารา


ปัดหมัดชกตอบ
แม่ไม้นี้ใช้แก้การชกด้วยหมัด ตรงโดยชกสวนที่ใบหน้า
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายไปยัง บริเวณใบหน้าขอฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า แขนขวาคุมบริเวณปลายคาง
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาไปข้าง หน้ากึ่งขวาหลบอยู่นอกหมัด ซ้ายของฝ่ายรุกเอี้ยวตัวไปทาง ขวา ปัดและกดแขนซ้ายของ ฝ่ายรุกที่ชกมาให้ต่ำลง พร้อม กับใช้หมัดซ้ายชกบริเวณหน้า แล้วพุ่งตัวกระโดดไปทางกึ่งขวา

                                                  ขุนยักษ์จับลิง ตอนที่๑



รับ-หมัด-เตะ-ต่อย
แม่ไม้นี้เป็นไม้ สำคัญมากใช้ป้องกันคู่ต่อสู้ที่ไวในการชก เตะและศอก ติดพันกัน
การฝึกแบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ฝ่ายรุก ชกหมัดซ้ายตรงไปยังใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบเท้าหาตัวฝ่ายรุกตรงหน้าแขนขวาปัดแขนซ้ายฝ่ายรุกให้พ้นจากตัว

                                                ขุนยักษ์จับลิง ตอนที่๒



รับ-หมัด-เตะ-ต่อย
ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราด บริเวณชายโครงของฝายรับ
ฝ่ายรับ รีบโยกตัวถอยเท้าซ้ายไปข้างหลังราวกึ่งซ้าย ย่อตัวใช้ศอกขวากระแทกที่ขาขวาท่อนบนของฝ่ายรุก

                                                ขุนยักษ์จับลิง ตอนที่๓




รับ-หมัด-เตะ-ต่อย
ฝ่ายรุก งอแขนขวาโน้มตัวกระแทกศอกที่ศีรษะของฝ่ายรับ
ฝ่ายรับ รีบงอแขนขึ้นรับปะทะใต้ศอกของ ฝ่ายรุก แล้วโยกตัวก้าวเท้าขวาถอยไปทางหลังประมาณ ครึ่งก้าว

                                                     หักคอเอราวัณ




โน้มคอตีเข่า
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัด ซ้ายตรง พร้อมกับสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า หมัดขวา คุมอยู่บริเวณคาง
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายสืบไป ตรงหน้าฝ่ายรุกอย่างรวดเร็วพร้อมกับยก แขนขวาสอดงดแขนซ้ายของฝ่ายรุก แล้วกระโดดเข้าเหวี่ยงคอฝ่ายรุกโน้มลงมาโดย แรง แล้วตีด้วยเข่าบริเวณใบหน้า


วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การไหว้ครู

การแข่งขันในเชิงศิลปะ มวยไทย กระบี่กระบอง หรือ อาวุธอื่น ๆ ที่มีมาแต่ โบราณนั้น ก่อนการแข่งขัน ทุกคนจะต้องไหว้ครู ถ้าเป็นนักมวยไทย ก่อนการแข่งขันชกมวยไทย จะต้องไหว้ครู มวยไทย และร่ายรำ มวยไทย ซึ่งเป็นประเพณี ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน การไหว้ครู เป็นการทำความเคารพต่อประธานในพิธีแข่งขัน หรือเป็นการถวายบังคม แด่พระมหากษัตริย์ ซึ่งในสมัย โบราณ ทรงโปรดฯ ให้มีการชก มวยไทย หน้าพระที่นั่งอยู่ เป็นประจำ ทั้งเป็นการระลึกถึง และแสดงความกตัญญู ต่อครูบาอาจารย์ ที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ ให้เพื่อความเป็นศิริมงคลทำให้จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวครั่นคร้ามควบคุมสติได้ดี ส่วนการ ร่ายรำ มวยไทย เป็นการแสดงออกถึง ลักษณะเฉพาะของครู มวยไทย หรือค่ายมวยไทย ซึ่งถ้านักมวยไทยไหว้ครูและร่ายรำ มวยไทย แบบเดียวกันมักจะไม่นิยมต่อยกัน เพราะเข้าใจ ว่าเป็นลูกศิษย์ที่มีครูมวย คนเดียวกัน นอกจากนั้น การร่ายรำ มวยไทย ยังเป็นการสังเกตุ ดูเชิงคู่ปรปักษ์ และเพื่ออบอุ่นร่างกาย ให้คลายความเคร่งเครียด ทั้งกายและจิตใจ ให้พร้อมที่จะเข้าต่อสู้ได

1. ยืนสงบนิ่ง (บนพื้นดิน ก่อนเดินขึ้นไปบนสังเวียนผ้าใบ) พนมมือเอาไว้ที่หน้าอก
 
2. คุกเข่าลงกับพื้น โดยนั่งลงไปบนส้นเท้าทั้งสองข้าง (เท้าขวาทับไปบนเท้าซ้าย) ในวิชามวยไทยเรียกว่า "ท่าเทพพนม" จากนั้นกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ลงบนพื้นดิน 3 ครั้ง (เพื่อทำความเคารพพระแม่ธรณี)

3. จากนั้นใช้มือขวาวางไปบนพื้น (พระแม่ธรณี) แล้วหมุนทวนเข็มนาฬิกา 3 ครั้ง (เสมือนเป็นการขอพรจากพระแม่ธรณี) แล้วจากนั้นนำมือขวามาวางไว้บนศรีษะตนเอง และหมุนตามเข็มนาฬิกา 3 ครั้ง (เสมือนเป็นการให้พระแม่ธรณีปกป้องตัวเองจากการแข่งขัน หรือต่อสู้ครั้งนี้)

4. ยืนขึ้นอย่างมีความมั่นใจ เท้าทั้ง 2 ข้างชิดติดกัน จากนั้นนำมือมาพนมเอาไว้ที่หน้าอกทั้ง 2 ข้าง แล้วก้าวขาซ้ายขึ้นไปบนบันได (ข้ามบันไดขั้นที่ 1)

5. ยืนกึ่งกลางของเชือกพร้อมพนมมือเอาไว้ ทำจิตให้สงบนิ่ง แล้วเตรียมจิตใจและร่างกายให้พร้อมในการที่จะเข้าไปในสังเวียนการต่อสู้มวยไทย แล้วจับเชือกให้มั่นด้วยมือทั้งสองข้าง จากนั้นกระโดดข้ามเชือกทันที

6. หลังจากกระโดดข้ามเชือกแล้ว ก็มายืนตรงกลางเวทีแล้วพนมมือทั้ง 2 ข้างไว้ที่หน้าอก ในวิชามวยไทยเรียกว่า "ท่าเทพพนม" จากนั้นไหว้ทำความเคารพผู้ชมทุกๆด้านของเวที

7. ยืนนิ่งจิตเป็น
- ยืนตรง
- หันหน้าหาคู่ต่อสู้
- ระยะห่างจากมุมของตนเอง 3 ก้าว
- แหงนหน้าดูท้องฟ้า
- สูดหายใจลึก 3 ครั้ง

8. เท้าชิดไหว้
-เปิดทวารลมซ้าย : เงยหน้านิ้วหัวแม่มือซ้ายปิดรูจมูกซ้าย สูดหายใจลึก
-เปิดทวารลมขวา : เงยหน้านิ้วหัวแม่มือขวาปิดรูจมูกขวา สูดหายใจลึก

9. ลงอักขระตัดไม้ข่มนาม : ใช้ปลายเท้าซ้ายเขียนวงกลมบนพื้น วนหมุนตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ แล้วกระทืบกลางวงกลม 1 ครั้ง

10. ย่อเข่าซ้ายทรุดตัวลงนั่งหลังเท้าขวาทับฝ่าเท้าซ้าย างฝ่ามือทั้งสองไว้บนต้นขานิ้วชี้เข้าหากัน
-ไหว้ท่าเทพพนม
-กราบเบญจางคประดิษฐ์ครั้งที่ 1 โดยคว่ำฝ่ามือซ้ายลงสัมผัสพื้น ตามด้วยฝ่ามือขวา มือทั้งสองห่างพอประมาณ หน้าผากสัมผัสพื้น
-กราบนิ่ง 10 วินาที เพื่อระลึกถึงครูและผู้มีพระคุณ (ทำซ้ำอีก 2 ครั้งๆละ 2 วินาที)

11. กอบพระแม่ธรณี : นั่งบนส้นเท้าเหยียดแขนทั้งสองไปด้านหลัง โน้มตัวไปข้างหน้า
-กอบพระแม่ธรณีด้านหน้า : เหยียดแขนไปด้านหลัง เคลื่อนมาวางสันมือไว้ข้างลำตัวแล้วลากหอบสัมผัสพื้น จนมือทั้งสองมาชิดกันอยู่ด้านหน้า
-ดึงมือทั้งสองมาชิดหน้าอก
-ถวายบังคมโดยแขนทั้งสองเหยียดตึงพุ่งไปข้างหน้า แล้วยกมือขึ้นเหนือศีรษะตามองตามมือ
-ดึงปลายนิ้วแตะหน้าผาก แล้วดันแขนเหยียดตึงขึ้นเหนือศีรษะ ตามองตามมือ

12. กอบพระแม่ธรณีด้านซ้าย กอบพระแม่ธรณีด้านขวา

13. ท่าปฐมเหยียดเท้าขวาไปข้างหน้า กำหมัดหมุนมือทั้งสองเป็นวงกลม 3 รอบ
ท่าขึ้นพรหม : ยกตัวขึ้นเข่าขวาตั้งฉาก ลำตัวตั้งตรง กางแขนขนานกับพื้นออกไปทางด้านข้าง พร้อมหมุนมือเป็นวงกลมไปข้างหน้า และกระดกเท้าซ้ายขึ้น

14 -กอบพระพาย : ยกตัวขึ้น เข่าขวาตั้งฉาก ลำตัวตรง เหยียดแขนทั้งสองไปด้านหลัง รวบมาหมุนมือทั้งสองเป็นวงกลม 3 รอบ.
-หงษ์เหิร : กางแขนออกทางด้านข้าง ยกแขนขึ้นลงลักษณะนกบิน 3 ครั้ง
-กระดกหางหงษ์ : โน้มตัวไปข้างหน้า เข่าขวาจรดพื้น กระดกส้นเท้าซ้าย 3 ครั้ง
-หงษ์สะบัดหาง : สะบัดหน้าไปทางซ้ายมองดูเท้าหลัง สะบัดหางหงษ์ 10 วินาที

15. ส่องเมฆ : ดึงตัวกลับ นั่งท่าพรหมกำหมัดหมุนมือทั้งสอง 3 รอบ และหยุดมองท้องฟ้าลอดท่อนแขนทั้งสอง
- ปั้นเม็ดขนุน : ใช้ฝ่ามือหมุนประคองกันไปมา 3 รอบ

16. ยืนไหว้เทพนิมิตร
-ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าซ้ายสัมผัสพื้น หมุนมือทั้งสอง 3 รอบ ยกเข่าขวาเสมอเอว มือขวาวางบนเข่าขวา แขนซ้ายวางบนหน้าผากเหนือคิ้ว หันฝ่ามือออก
-ลากเท้าขวาชิดหน้าซ้าย ยกเท้าขวาสัมผัสพื้น หมุนมือทั้งสอง 3 รอบ ยกเข่าซ้ายเสมอเอว มือซ้ายวางบนเข่าซ้าย แขนขวาวางทาบบนหน้าผากเหนือคิ้วหันฝ่ามือออก

17. พระรามแผลงศร 2 ครั้ง

18. มองดูคู่ต่อสู้ว่าโดนลูกศรที่ยิงออกไปรึไหม
- ย่างสามขุมเข้าหาคู่ต่อสู้ 3 ก้าว
- ยืนไหว้

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

Boxer Fighting


Boxer Fighting

                                                         

ประวัติมวยไทย

1. มวยไทยกับคนไทย
....จากการจำแนกเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ คนไทยมีเชื้อชาติอยู่ในกลุ่มมองโกเลีย ลักษณะร่างกายโดยทั่วไปตัวเล็กกว่าคนที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว ความสูงโดยเฉลี่ย 5 ฟุต 3 นิ้ว ร่างกายล่ำสัน สมส่วน ทะมัดทะแมง น้ำหนักตัวน้อย มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูง มือมีเนื้อนุ่มนิ่ม ผิวสีน้าตาลอ่อน ผมดกดำ ขนตามตัวมีน้อย เคราไม่ดกหนา รูปศีรษะเป็นสัดส่วนดี ลูกตาสีดำตาขาวมีสีเหลืองเล็กน้อย กระพุ้งแก้มอวบอูม ใบหน้ากลม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเมืองร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ใช้เรือเป็นพาหนะ จึงทำให้คนไทยสวมเสื้อผ้าน้อยชิ้น ไม่สวมหมวกและรองเท้า สามารถใช้อวัยวะหมัด เท้า เข่า ศอก ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว จึงนำไปผสมผสานกับการใช้อาวุธมีด ดาบ หอก เพื่อป้องกันตนเองและป้องกันประเทศ
....มวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านาน ในสมัยโบราณประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอๆ ดังนั้นชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทยควบคู่กับการฝึกอาวุธ ต่อมาได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น มีลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงามแฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งดุดัน สามารถฝึกเพื่อป้องกันตนเอง เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย และเพื่อเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2. มวยไทยในสมัยกรุงสุโขทัย                                                                                             
....สมัยกรุงสุโขทัยเริ่มประมาณ พ.ศ.1781 - 1951 รวมระยะเวลา 140 ปี หลักฐานจากศิลาจารึกกล่าวไว้ชัดเจนว่า กรุงสุโขทัยทำสงครามกับประเทศอื่นรอบด้าน จึงมีการฝึกทหารให้มีความรู้ความชำนาญในรบด้วยอาวุธ ดาบ หอก โล่ห์ รวมไปถึงการใช้อวัยวะของร่างกายเข้าช่วยในการรบระยะประชิดตัวด้วย เช่น ถีบ เตะ เข่า ศอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรบ
....หลังเสร็จสงครามแล้ว ชายหนุ่มในสมัยกรุงสุโขทัยมักจะฝึกมวยไทยกันทุกคนเพื่อเสริมลักษณะชายชาตรี เพื่อศิลปะป้องกันตัว เพื่อเตรียมเข้ารับราชการทหารและถือเป็นประเพณีอันดีงาม ในสมัยนั้นจะฝึกมวยไทยตามสำนักที่มีชื่อเสียง เช่น สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังมีการฝึกมวยไทยตามลานวัดโดยพระภิกษุอีกด้วย วิธีฝึกหัดมวยไทยในสมัยกรุงสุโขทัย ครูมวยจะใช้กลอุบายให้ศิษย์ ตักน้ำ ตำข้าว ผ่าฟืน ว่ายน้ำ ห้อยโหนเถาวัลย์ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและอดทนก่อนจึงเริ่มฝึกทักษะ โดยการผูกผ้าขาวม้าเป็นปมใหญ่ๆไว้กับกิ่งไม้ แล้วชกให้ถูกด้วยหมัด เท้า เข่า ศอก นอกจากนี้ยังมีการฝึกเตะกับต้นกล้วย ชกกับคู่ซ้อม ปล้ำกับคู่ซ้อม จบลงด้วยการว่ายน้ำเพื่อทำความสะอาดร่างกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน ครูมวยจะอบรมศีลธรรมจรรยา ทบทวนทักษะมวยไทยท่าต่างๆ จากการฝึกในวันนั้นผนวกกับทักษะท่าต่างๆ ที่ฝึกก่อนหน้านี้แล้ว
....สมัยกรุงสุโขทัยมวยไทยถือว่าเป็นศาสตร์ชั้นสูงถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาของกษัตริย์ เพื่อฝึกให้เป็นนักรบที่มีความกล้าหาญ มีสมรรถภาพร่างกายดีเยี่ยม เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถในการปกครองประเทศต่อไป ดังความปรากฏตามพงศาวดารว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์กษัตริย์กรุงสุโขทัยพระองค์แรกทรงเห็นการณ์ไกลส่งเจ้าชายร่วงองค์ที่ 2 อายุ 13 พรรษา ไปฝึกมวยไทยที่ สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี เพื่อฝึกให้เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าในอนาคต และในปี พ.ศ. 1818 - 1860 พ่อขุนรามคำแหงได้เขียนตำหรับพิชัยสงคราม ข้อความบางตอนกล่าวถึงมวยไทยด้วย นอกจากนี้พระเจ้าลิไท เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาจากสำนักราชบัณฑิตในพระราชวังมีความรู้แตกฉานจนได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ซึ่งสำนักราชบัณฑิตมิได้สอนวิชาการเพียงอย่างเดียว พระองค์ต้องฝึกภาคปฏิบัติควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่าแบบมวยไทย และการใช้อาวุธ คือ ดาบ หอก มีด โล่ห์ธนู เป็นต้น

สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
หลังจากพ่ายแพ้แก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ มีนักมวยมีชื่อเสียงสองคน ดังนี้
๑. นายขนมต้ม เป็นเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๑๗ พระเจ้ากรุงอังวะ กษัตริย์พม่าโปรดให้จัดงานพิธีสมโภชมหาเจดีย์ใหญ่ ณ เมืองร่างกุ้ง ทรงตรัสให้หานักมวยไทยฝีมือดี มาเปรียบกับนักมวยพม่า แล้วให้ชกกันที่หน้าพระที่นั่ง ในวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๗ ซึ่งนายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่าถึง ๑๐ คน โดยไม่มีการพักเลย การชกชนะครั้งนี้เป็นการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยในต่างแดนเป็นครั้งแรก ดังนั้นนายขนมจึงเปรียบเสมือน "บิดามวยไทย" และวันที่ ๑๗ มีนาคม ถือว่า เป็นวันมวยไทย
๒.พระยาพิชัยดาบหัก (พ.ศ.๒๒๘๔ - ๒๓๒๕) เดิมชื่อจ้อย เป็นคนเมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความรู้ความสามารถเชิงกีฬามวยไทยมาก ได้ฝึกมวยไทยจากสำนักครูเที่ยงและใช้วิชาความรู้ชกมวยไทยหาเลี้ยงตัวเองมาจนอายุได้ ๑๖ ปี แล้วจึงฝึกดาบ กายกรรม และมวยจีนจากคนจีน ด้วยฝีมือเป็นเลิศในเชิงมวยไทยและดาบ เป็นที่ปรากฏแก่สายตาของพระยาตาก จึงนำเข้าไปรับราชการได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิชัยอาสา หลังจากพระเจ้าตากสิ้นได้กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ก็ให้พระยาพิชัยไปครองเมืองพิชัยบ้านเมืองเดิมของตนเอง ในปี พ.ส.๒๓๑๔ พม่ายกทับมาตีเมืองเชียงใหม่แล้วเลยมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยนำทหารออกสู้รบ การรบถึงขั้นตะลุมบอน จนดาบหักทั้งสองข้าง จึงได้นามว่า พระยาพิชัยดาบหัก
สมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรีเริ่ม พ.ศ.๒๓๑๐ - ๒๓๒๔ ระยะเวลา ๑๔ ปี บ้านเมืองอยู่ระหว่างการฟื้นฟูประเทศ หลังจากการกู้อิสรภาพคืนมาได้ การฝึกมวยไทยสมัยนี้เพื่อการสงครามและการฝึกทหารอย่างแท้จริง
ในยุคนี้มีนักมวยฝีมือดีมากมาย เช่น นายเมฆบ้านท่าเสา นายเที่ยงบ้านเก่ง นายแห้วแขวงเมืองตาก นายนิลทุ่งยั้ง นายถึกศิษย์ครูนิล ส่วนนักมวยที่เป็นนายทหารเลือกของพระเจ้าตากสิน ได้แก่ หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี นายหมึก นายทองดี ฟันขาว หรือพระยาพิชัยดาบหัก การจัดชกมวยในสมัยกรุงธนบุรี นิยมจัดนักมวยต่างถิ่น หรือลูกศิษย์ต่างครูชกกัน กติกาการแข่งขันยังไม่ปรากฏชัดเจน ทราบเพียงแต่ว่าชกแบบไม่มีคะแนน จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมแพ้ไป สังเวียนเป็นลานดิน ส่วนมากเป็นบริเวณวัด นักมวยยังชกแบบคาดเชือกสวมมงคล และผูกประเจียดที่ต้นแขนขณะทำการแข่งขัน
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กีฬามวยไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๔๑๑ ระยะเวลา ๘๖ ปี กีฬามวยไทยยังเป็นศิลปะประจำชาติ มีการจัดแข่งขันในงานเทศกาลประจำปี กติกาเริ่มมีการกำหนดเวลาการแข่งขันเป็นยก โดยใช้กะลามะพร้าวที่มีรูลอยน้ำถ้ากะลามะพร้าวจมถึงก้นอ่างก็จะตีกลองเป็นสัญญาณหมดยก การแข่งขันไม่กำหนดยก ชกกันจนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมแพ้ 
...ระหว่างปี พ.ศ.2485 -2487 สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังจะสงบแต่ยังคงมีเครื่องบินข้าศึกบินลาดตระเวนอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน จำเป็นต้องจัดการแข่งขันชกมวยไทยตามโรงภาพยนต์ต่างๆ ในเวลากลางวัน เช่น สนามมวยพัฒนาการ สนามมวยท่าพระจันทร์ สนามมวยวงเวียนใหญ่ เนื่องจากประชนยังคงให้ความสนใจมวยไทยอยู่
....วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2488 สนามมวยเวทีราชดำเนินได้เปิดสนามทำการแข่งขันครั้งแรก มีนายปราโมทย์ พึ่งสุนทร เป็นนายสนามมวยคนแรก พระยาจินดารักษ์เป็นกรรมการบริหารเวที ครูชิต อัมพลสิน เป็นโปรโมเตอร์ จัดชกเป็นประจำในวันอาทิตย์เวลา 16.00 - 17.00 น. ใช้กติกาของกรมพลศึกษา ปี พ.ศ.2480 ชก 5 ยกๆละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที ในระยะแรกชั่ง น้ำหนักตัวนักมวยด้วยมาตราส่วนเป็นสโตนเหมือนน้ำหนักม้า อีก 2 ปีต่อมา จึงเปลี่ยนเป็นกิโลกรัม ปี พ.ศ.2491 เปลี่ยนน้ำหนักนักมวยเป็นปอนด์ เพื่อให้เป็นระบบสากลมากขึ้น และเรียกชื่อรุ่นตามน้ำหนัก เช่น น้ำหนักไม่เกิน 112 ปอนด์ รุ่นปลายเวท น้ำหนักไม่เกิน 118 ปอนด์ รุ่นแบนตัมเวท เป็นต้น และปี พ.ศ.2494 สนามมวยเวทีราชดำเนินได้เริ่มก่อสร้างหลังคาอย่างถาวร
....วันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2496 พันตำรวจเอกพิชัย กุลวณิชย์ ผู้ช่วยมวยนายสานมวยเวทีราชดำเนินได้ออกระเบียบให้นักมวยสวมกางเกงให้ตรงมุมตนเอง พี่เลี้ยงต้องแต่งกายสุภาพ
...วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2496 สนามมวยเวทีลุมพินี ได้เปิดการแข่งขันมวยไทยขึ้นเป็นครั้งแรก มี เสธ เอิบ แสงฤทธิ์ เป็นนายสนาม นายเขต ศรียาภัย เป็นผู้จัดการ
...ปี พ.ศ.2498 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ได้จัดทำกติกามวยไทยอาชีพฉบับแรกขึ้น โดยได้ปรับปรุงจากกติกามวยไทย ฉบับปี พ.ศ.2480 ของกรมพลศึกษา
...ปี พ.ศ.2502 นายโนกุจิ นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นนำนักมวยชาวญี่ปุ่นมาชกกับนักมวยไทยได้ถ่ายภาพยนต์มวยไทยไว้แล้วนำไปศึกษา เปลี่ยนชื่อเป็นคึกบอกซิ่ง นายไคโต เคนกุจิ ผู้นำด้านศิลปะการต่อสู้ชาวญี่ปุ่นได้เข้าชมมวย ณ เวทีราชดำเนิน เกิดความประทับใจ นำวิชามวยไทยไปฝึกสอนกันอย่างจริงจัง ในโรงเรียนประถมศึกษาของญี่ปุ่น
...ปี พ.ศ.2503 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ได้เพิ่มข้อบังคับกติกามวยไทยอาชีพอีกว่า นักมวยไทยต้องมีอายุในวันแข่งขันไม่ต่ำกว่า 18 ปี และอายุไม่เกิน 38 ปีบริบูรณ
...ปี พ.ศ.2504 เวทีราชดำเนินได้จัดการแข่งขันมวยชิงถ้วยพระราชทานขึ้นเป็นครั้งแรก มีนักมวยซึ่งได้รับถ้วยพระราชทน ตามลำดับดังนี้
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 คนที่ 1 นำศักดิ์ ยนตรกิจ
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2506 คนที่ 2 เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 คนที่ 3 สมพงษ์ เจริญเมือง
วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2512 คนที่ 4 เฉลิมศักดิ์ เพลินจิต
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 คนที่ 5 ศรนักรบ เกียรติวายุภักษ์
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2522 คนที่ 6 เผด็จศึก พิษณุราชันย์
วันที่ 29 พ.ศ.2507 นายเฉลิม เชี่ยวสกุล ประธานบริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ประกาศใช้ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการชิงแชมป์เปี้ยน การป้องกันแชมป์เปี้ยน และการจัดอันดับนักมวยไทยของเวทีราชดำเนินเป็นครั้งแรก
...ปี พ.ศ.2508 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ได้ปรับปรุงกติกามวยไทยอาชีพให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ให้ชื่อว่า " กติกามวยไทยอาชีพของเวทีราชดำเนิน พ.ศ.2508 "
...ธันวาคม พ.ศ.2527 เวทีมวยราชดำเนินจัดอันดับ 10 ยอดมวยไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ดังนี้
คนที่ 1 ผล พระประแดง
คนที่ 2 สุข ประสาทหินพิมาย
คนที่ 3 ชูชัย พระขรรค์ชัย
คนที่ 4 ประยุทธ์ อุดมศักดิ์
คนที่ 5 อดุลย์ ศรีโสธร
คนที่ 6 อภิเดช ศิษย์หิรัญ
คนที่ 7 วิชาญน้อย พรทวี
คนที่ 8 พุฒ ล้อเหล็ก
คนที่ 9 ผุดผาดน้อย วรวุฒิ
คนที่ 10 ดีเซลน้อย ช.ธนสุกาญจน์



                      มวยไทย ท่าหัก       มวยไทย ท่าทุ่ม